วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ดูวิวพังงาบ้าง

อ่าวพังงา ถ่ายจากยอดเขาสูง
     หายไปนาน..แต่ไม่ได้หนีไปไหน..คิดว่าอีกไม่นาน คงจะมีเวลามาอัพเดทบางเรื่องให้อ่านกันเล่นๆ..เอาเป็นว่า เอารูปมาให้ดูเล่นๆก่อนแล้วกัน
   

ป่าสวยๆ


ปลูกยางแนวขั้นบันได


บรรยากาศร่มรื่น รถเข้าถึงง่าย แต่คนเข้าถึงยาก

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สร้างสะพานใหม่กันอีกรอบ

   การจราจรเข้าสูเกาะภูเก็ตที่เชื่อกันว่าจะเป็นอัมพาตในอนาคตนั้น ได้รับการแก้เบื้องต้นแล้วโดยการสร้างสะพานใหม่ขึ้นมา เป็นสะพานคู่ขนานกับสะพานเทพกระษัตรีย์(ที่ใช้มาร่วม10ปีแล้ว) ด้วยเทคโนโลยี่และเครื่องมืออันทีนสมัยในปัจจุบัน ทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว(ยกเว้นกรณีการเกิดข่าวลือเมื่อปี2552)
    ดูภาพกันหน่อยก็แล้วกัน

ถนน4ช่องจราจรไปกลับบนสะพานคือภาพลักษณ์ใหม่ของสะพานข้ามเกาะที่จะรองรับมีผู้คนสัญจรไปมานับแสนคนต่อวัน ส่วนสะพานเก่าที่ทรุดโทรมและล้าสมัย ก็ถูกลดค่าลงมาเป็นแค่จุดชมทิวทัศน์ หลังจากที่ได้รับใช้ผู้คนให้ผ่านเส้นทางนี้ด้วยความรวดเร็วเป็นเวลา กว่า 40ปี


ปั้นจั่นลอยน้ำ ในกระแสน้ำเชี่ยว ที่ฝั่งท่าฉัตรชัย

เสาตอหม้อ กับข่าวลือต้องเซ่นด้วยชีวิตคน(มีให้เห็นทุกสมัย)




ลมเย็นกับที่นอนราคา360ล้าน

ภาพนี้ไม่มีให้ดูอีกแล้ว เพราะ ถูกนำไปเป็นที่ท่องเที่ยวเลอะเทอะไปหมด ประวัติศาสตร์ หายไปไหน ทำไมไม่อนุรักษ์

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

สะพานสารสินใหม่

         สะพานสารสินใหม่

มีการสร้างสะพานใหม่รองรับการจราจรที่คับคั่งและใช้แทนที่สพานสารสินอันเก่าที่ใช้งานมาร่วม40ปี
ลักษณะ: เป็นสพานคอนกรีต ขนาด6 ช่องจราจร กำลังดำเนินการการก่อสร้าง
ข่าวลือ/ข่าวเล่น...ต้องการหัวคนพม่า99หัวเพื่อเซ่นสังเวยสะพาน..ฮ่าๆ นี่มันปี2553แล้ว ยังมีข่าวลือเช่นนี้อีกหรือ
สะพานใหม่กำลังสร้าง ส่วนสะพานเก่ายังไม่รู้ชะตากรรม

ยิ่งใหญ่ ทันสมัย แข็งแรง

อีกหน่อยคนรุ่นหลังก็จะไม่รู้จักสะพานเก่า
    ****ขอแก้ไขครับ เรื่องการสร้างสพานใหม่ 6ช่องจราจร ในความจริงแล้ว สร้างแค่ 2 ช่องจราจร เมื่อรวมกับสพานที่2(สพานท้าวเทพฯ) รวมเป็น 4 ช่องจราจร แต่ถ้านับรวม กับสพารสารสินที่1 ก็เป๋็น 6 ช่องจราจร แต่เสียดาย ปัจจุบันสพานสารสินที่ใช่้มาตั้งแต่ ปี 2511 ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้ชมทัศนียภาพ ไปแล้ว..โดยส่วนตัวเห็นว่า เป็นการลดความงดงามเสียมากกว่า
 7/8/2012 ภูเก็ต
ท่าแตง:
สถานที่ถ่ายภาพตอนพระอาทิตย์ตกดินอีกแห่งที่นักถ่ายภาพไม่ควรพลาด
ที่ตั้ง:บ้านท่าแตง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
จุดเด่น: เงียบสงบ ชายหาดกว้าง เนินหาดเป็นแหลมแคบๆถูกขนาบด้วยทะเลและคลองนำเค็ม เป็นช่องทางนำออกสู่ทะเลหรือที่เรียกเป็นภาษาถิ่นว่า "ปากบาง"
เส้นทางที่จะไป: ให้ใช้เส้นทางต่อจากสำนักสงฆ์ท่าไทร ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร โดยรถขับเคลื่อ4ล้อ

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

ผมไปช่องปากพระฝั่งพังงาอีกครั้งเมื่อต้นเดือนมีนาคม กะว่าจะไปดูความสวยงามช่วงฤดูที่ท้องฟ้าสวยที่สุด แต่ก็ผิดหวังเพราะเส้นทางเข้าช่องปากพระถูกปิดเสียแล้ว

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พระประจำเมืองภูเก็ต



พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี พระคู่เมืองของชาวภูเก็ต เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 25.45 เมตร สูง 45 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 19 องศา ประดิษฐานบนยอดเขานาคเกิด ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ทางขึ้นไปยังองค์พระที่เขานาคเกิด (เข้าทางซอยยอดเสน่ห์)มีระยะทางยาวประมาณ 5 กิโลเมตร


ลองฟังตำนานกันเล่นๆ


.....เขานาคเกิดป็นที่รู้จักด้านเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา แต่เดิมในสมัยสุวรรณภูมิอันรุ่งเรือง แห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ปัจจุบัน ชาวภูเก็ตได้ส่งตัวแทน ไปอัญเชิญเสด็จพุทธองค์ มาโปรดชาวเมือง เมื่อพระองค์เสด็จมา พร้อมพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ ที่แรกที่เสด็จก็คือ บริเวณเกาะแก้วพิสดาร ได้ทรงแนะนำข้อธรรม แก่ชาวบ้าน ชาวบ้านจึงขอให้พระองค์ ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ เป็นเครื่องสักการบูชาที่ริมน้ำ และที่สันเกาะบนก้อนหินใหญ่อีก 1 คู่ ขนาดเท่าครึ่งของคนปกติ แล้วเรียกขานต่อๆ มาว่า “ รอยพระพุทธบาทเกาะแก้วพิสดาร ” เมื่อขึ้นมาโปรดสัตว์ ที่ริมหาดแผ่นดินใหญ่ ชาวบ้านจึงกราบทูล ขอรอยพระหัตถ์ไว้อีก 1 รอย แถวนั้นจึงเรียกกันว่า “ เราไหว้ ” เนื่องจากเป็นสถานที่ที่กราบไหว้พระพุทธเจ้า และรอยพระหัตถ์ ต่อมาเมื่อกาลเวลาผ่านไป คนลืมรอยพระหัตถ์ไปแล้ว ประกอบกับสำเนียงพื้นเดิมเปลี่ยนไป คำว่า “ เราไหว้ ” จึงสั้นลง คือ สระ “ -เ ” หายไปเหลือแต่ “ รา ” และ พยัญชนะ “ ห ” หายไปเหลือแต่ “ ไว ” กลายเป็น “ ราไวย์ ” หรือหาดราไวย์ ในปัจจุบัน


ต่อมาพุทธองค์ ได้เสด็จตามคำเชิญของเทวดาและนาค จากริมหาดราไวย์ มาโปรดบนยอดเขา โดยประทับที่โขดหินใหญ่บนยอดเขานั้น พระพุทธองค์ ได้ตรัสสั่งสอนพระธรรม แก่เหล่าเทวดาและนาค จนเข้าใจในพระธรรม ไปเกิดจุติในสรวงสวรรค์ ที่บารมีธรรมสูงขึ้น มีรัศมีกายสว่างไสว ดังดอกไม้ไฟที่พุ่งสู่ท้องฟ้า าวบ้านซึ่งอยู่ใกล้บริเวณนั้น ได้เห็นปรากฏการณ์แห่งจิตวิญญาณนั้น จึงขนานนามยอดเขานั้นว่า “ นาคเกิด ” ส่วนเหล่านาคที่ยังไม่เข้าสู่ เทวธรรมชั้นสูง ก็ได้ทูลขอรอยพระบาท แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อสักการบูชาแก่ต่อไป ได้แก่ รอยประทับนั่งของพระพุทธองค์ รอยพระหัตถ์ และรอยพระพุทธบาท


เขานาคเกิดนี้ เป็นยอดเขาที่สูงมาก และน่าจะสูงที่สุดในภูเก็ต ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกัน ระหว่างตำบลกะรน และตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต แต่ทางขึ้น หากไปทางตำบลฉลอง จะสะดวกและง่ายดายกว่า โดยไปตามเส้นทางในซอยยอด เสน่ห์ (หมู่ 10 ) ระยะทางจากปากซอย ถึงยอดเขาก็ประมาณ 6 กม. เส้นทางในช่วงแรกนั้น ลาดยางอย่างดี ถนนจะแคบไปบ้าง เพราะเป็นถนนในหมู่บ้าน ระหว่างทางบรรยากาศรอบๆ ร่มเย็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดของภูเก็ต ทางคณะกรรมการจัดสร้าง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐบาล ภาคเอกชน ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ได้สร้างเพื่อให้เป็น พระพุทธรูปประจำเมืองภูเก็ต นามว่า " พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี" หน้าตักกว้าง 25.45 เมตร สูง 45 เมตร) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี


ข้อมูลตำนาน : Phuketindex