วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ขอแทรกภาพ เทศกาลกินผัก...กันอีกหน่อย





































สำหรับท่านที่ชื่นชอบภาพหวาดเสียว ขอเชิญทัศนาเลยครับ..(เอาภาพไปได้ครับไม่สงวนลิขสิทธิ์)

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ขออนุญาต ออกความเห็น เรื่อง...ช่องปากพระ..

ปัจจุบันนี้ คำว่า ช่องปากพระ เป็นที่รู้กันว่าเป็นชื่อเรียกช่องแคบสุด ที่แยกคั่นเกาะภูเก็ตออกจากแผ่นดินใหญ่
มีความเชื่อกันว่า ครั้งหนึ่งเกาะภูเก็ตเป็นแหลมขนาดเล็กติดกับแผ่นดินใหญ่พังงาปัจจุบัน(กรีกโบราณเรียกว่าจังซีลอน) ที่แหลมจังซีลอนนี้เป็นที่ตั้งของเมืองท่าค้าค้ายที่สำคัญของอินเดียและชวา ต่อมาตรงคอคอดของแหลมจังซีลอนก็ถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนแผ่นดินแยกขาดจากกัน ฟังแล้วก็น่าจะมีเหตุผล..ผมสังเกตุดูชายฝั่งบริเวณช่องปากพระ(ฝั่งพังงา) บริเวณนี้จะถูกกระแสน้ำกัดเซาะเข้าไปในแผ่นดินทุกปี

อีกตำนานก็เล่าว่า สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตอนเกาะภูเก็ตถูกพม่าโจมตี ปากพระซึ่งเป็นป้อมค่ายหน้าด่านที่ตั้งอยู่บนฝั่งภูเก็ต คงไม่พ้นที่จะเป็นเป้าหมายแรกของกองทัพพม่า บางตำนานกล่าวว่าคุณหญิงจันกลับจากพังงามาเมืองถลางก็ผ่านทางช่องปากพระนี้แหละ (อาจจะข้ามฟาก ตรงบริเวณช่องทางออกสู่ทะเลอันดามันก็เป็นได้..เพราะเป็นส่วนแคบที่สุดและท่านคงข้ามเรือตอนกระแสน้ำน้ำนิ่ง)

: ขอยกข้อความบางส่วนจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี มานำเสนอเพิ่มเติมหน่อยครับ..
......เมื่อจอมร้างบ้านเคียนถึงแก่กรรมลง พญาถลางอาดบุตรชายและน้องชายท่านผู้หญิงจันได้ครองเมืองถลาง ครองได้ไม่นานก็ถูกผู้ร้ายยิงตาย หลังสมเด็จพระเจ้าตากสินปราบก๊กพระยานครได้ประมาณ 7 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรินทราชาพิมลอัยา ( ขัน ) เป็นเจ้าเมืองถลาง ท่านผู้หญิงจันเป็นแม่เมืองปกครองเมืองถลางด้วยความสงบสุขสืบมา ครั้นเมื่อพระยาสุรินทราชาพิมลอัยา ( ขัน ) เจ้าเมืองเสียชีวิต กองทหารจากเมืองหลวงที่ยึดค่ายปากพระได้เข้าเกาะตัวจับกุมท่านผู้หญิงจันเป็นเชลยศึกไปที่ค่ายปากพระ ในข้อกล่าวหาอ้างว่าสามีเป็นหนี้แผ่นดิน

ส่วนแผ่นดินพม่ามีพระเจ้าปดุง[2]ครองราชสมบัติใต้ฟ้าแผ่นดินอังวะ ลุปี พ.ศ. 2328 พม่าได้เตรียมกองทัพใหญ่ด้วยพระประสงค์ที่จะขยายอาณาเขต[3] ด้วยกองทัพที่ยิ่งใหญ่แกร่งกล้าในการรบสามารถปราบรามัญ ไทยใหญ่ มณีปุระยะไข่ รวบรวมไพร่พลได้ถึง 144,000 คน จัดเป็นทัพใหญ่หมายโจมตีสยามประเทศ เป็นที่รู้จักกันดีในนามสงคราม 9 ทัพ พม่ายกทัพเข้าบุกตีค่ายปากพระ[4] ซึ่งทหารของรัชกาลที่ 1 เป็นผู้บัญชาการค่าย พญาพิพิธโภไคยหนีไปเมืองพังงา ท่านผู้หญิงจันในขณะนั้นยังถือว่าเป็นเชลยศึก ได้หนีข้ามช่องปากพระ[5]มายังเข้าเมืองถลาง ผ่านบ้านไม้ขาว บ้านสาคู และบ้านเคียน[6]อันเป็นที่ตั้งเมืองถลาง.....

คำว่า..ช่องปากพระ ที่ท่านคุณหญิงจันข้ามฟากไปเกาะภูเก็ต..ตามที่บันทึกในตำนานนั้น เป็นบริเวณจุดไหนกันแน่...อาจหมายถึง บริเวณช่องทางออกสู่ทะเลอันดามัน(ชุดที่เรียกกันว่าช่องปากพระในปัจจุบัน) หรือบริเวณที่ตั้งของสะพานสารสิน หรือ บริเวณท่าแพเก่า(ท่านุ่นท่าฉัตรชัย)
พรุ่งนี้ค่อยว่ากันต่อครับ..(ขอเวลาวิเคราะห์แบบคุยกันเล่นๆ..อีกนิด)
( ดูแผนที่ภูเก็ตสมัยที่ยังเป็น จังซีลอน จาก ลิงค์ ที่ [4] )

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551

ข้อเขียนเกี่ยวกับขอทานชาวเล..ของ จิรายุทธ ตั้งจิตต์


..เพื่อนๆครับ.. ผมไม่ได้ตั้งใจจะเอาเปรียบคุณ จิรายุทธ เจ้าของบทความเลย..แต่เพราะเวปไซต์ของบทความนี้อาจจะมีปัญหาไวรัส ผมเลยไม่อยากสร้างปัญหาให้ผู้อ่านของผม..ก็เลยลอกมาให้อ่านกันทั้งดุ้นจะปลอดภัยกว่า..ก็ต้องขออนุญาตคุณจิรายุทธในการเผยแพร่บทความต่อนะครับ

By จิรายุทธ ตั้งจิตต์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับอุดมศึกษา
ขอทานในยุคปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาของสังคมที่รอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยทั่วไปเราสามารถพบเห็นได้ตามแยกถนนต่างๆ
ใต้สะพานลอย เป็นกลุ่มคนที่ใส่เสื้อผ้าขาดๆ เนื้อตัวสกปรก ซึ่งในปัจจุบันมีมากจนกลายเป็นปัญหาทางสังคม และสิ่งของที่ขอทานได้คือ เงิน
แต่สำหรับจังหวัดภูเก็ตของเราแล้ว การขอทาน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการดำรงชีวิต เกิดขึ้นจากความศรัทธาในความเชื่อ และการเคารพต่อ
บรรพบุรุษ หล่อหลอมรวมกันถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นของชาวไทยใหม่(ชาวเล)ชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของภูเก็ต จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมที่มีความ
สำคัญต่อการดำรงชีวิต นั่นคือการขอทาน จะมีความแตกต่างจากขอทานทั่วไปหรือไม่ สิ่งของที่เขาอยากได้คืออะไร และการขอทานที่ว่านี้มีความ
สำคัญอย่างไรกับวัฒนธรรมของชาวภูเก็ต ขอทานกลายมาเป็นวัฒนธรรมได้อย่างไร วันนี้คุณจะได้รู้ถึงเรื่องราวทั้งหมด

ขอทาน หรือวัฒนธรรมการขอที่ว่านี้ อยู่คู่กับชาวภูเก็ต มานานหลายชั่วอายุคน โดยชาวไทยใหม่หรือที่ชาวภูเก็ตเรียกว่า ชาวเล เป็นกลุ่มคนพื้น
เมืองของภูเก็ตที่เริ่มวัฒนธรรมการขอทาน โดยเราสามารถพบเห็นการขอทานของชาวไทยใหม่ได้เพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น นั่นคือช่วง ประเพณีวัน
สาทเดือนสิบ ของชาวภูเก็ต เราจะเห็นชาวไทยใหม่หลายครอบครัว หอบลูกจูงหลาน เดินทางมาตามวัดต่างๆ เช่น วัดพระทอง วัดเทพกระษัตรี วัด
บ้านแขนน และวัดศรีสุนทร พร้อมกับอุปกรณ์ที่สำคัญในการขอทานนั่นคือ ถังพลาสติกสีเหลืองใบใหญ่ ที่ใช้ในการใส่ของจากคนที่เดินทางมาทำบุญ
ที่วัด ความแปลกตาบางอย่างที่เราสังเกตได้จากการขอทานของชาวไทยใหม่ เป็นตัวแบ่งแยกความต่างออกจากขอทานทั่วไปโดยสิ้นเชิง คือ ขอทาน
ทั่วไปจะมีการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าขาดๆ มองดูน่าสงสาร นั่งขอเงินตามริมถนนเพื่อซื้อข้าวกิน แต่การขอทานของชาวไทยใหม่แล้วเป็นการขอทาน
ขนมจากคนที่เดินทางมาทำบุญที่วัด อันได้แก่ ขนมเทียน ขนมนมสาว ขนมกระยาสาท ขนมต้ม และอีกหนึ่งความต่างคือ คนที่มานั่งขอทานทุกคน
เป็นคนที่มีฐานะ จะเดินทางมาขอทานด้วยรถยนต์ส่วนตัว บางครอบครัวก็มาด้วยรถเก๋ง บางครอบครัวก็มาด้วยรถกระบะป้ายแดง บางคนก็ใส่สร้อย
ทองเต็มตัว มองดูแล้วรวยกว่าคนที่ให้ทานอีก แล้วอะไรที่เป็นเหตุให้ชาวไทยใหม่เหล่านี้ต้องมานั่งขอทาน เพียงเพื่อต้องการแค่ขนม หรือมีอะไร
บางอย่างที่มีมากกว่านั้น

จากการที่ได้เข้ามาพูดคุยกับ คุณลุงทองปัน หาดชายทอง ผู้นำกลุ่มชาวไทยใหม่ บ้านราไวย์ ตำบลราไวย์หนึ่งในจำนวนคนที่เดินทางมาเพื่อขอ
ทาน ทำให้เราทราบว่า การขอทาน หรือวัฒนธรรมการขอทานของชาวไทยใหม่นั่น เป็นวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งทางความเชื่อ ที่มีมานานคู่กับ
การดำรงชีวิตของชาวไทยใหม่ที่ปฏิบัติกันมาหลายชั่วอายุคน การขอทานเกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่า ในช่วงประเพณีวันสาร์ทเดือนสิบของชาวภูเก็ต คือ
เป็นวันที่ทางโลกที่สามจะเปิดให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อมารับสิ่งของและผลบุญที่ทางลูกหลานทำให้ แต่ในสมัยก่อนชาว
ไทยใหม่มีฐานะยากจนมากดังนั่นจึงต้องเดินทางไปขอทานจากชาวบ้านเพื่อมาใช้ในการประกอบพิธีกรรม ของที่ได้มามักจะเป็นขนม เสื้อผ้า และ
ของใช้ต่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่ในปัจจุบันมีขนม เพียงอย่างเดียว และได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้คุณลุงทองปัน ยังบอกอีกว่า
ชาวไทยใหม่ยังเชื่อที่ว่า หากครอบครัวใดไม่เดินทางไปขอทานแล้ว ผีบรรพบุรุษจะลงโทษ และจะทำให้ครอบครัวนั่นเกิดเหตุร้าย และทำให้คนใด
คนหนึ่งในครอบครัวเสียชีวิตได้ ดังนั่นจึงเป็นเหตุให้ชาวไทยใหม่ต้องเดินทางไปขอทานถึงแม้ว่าทางครอบครัวจะมีฐานะดี และไม่ได้คิดที่จะเป็นขอ
ทานจริงๆ ก็ตาม เพราะถ้าไม่ทำนั่นหมายถึงการเผชิญหน้ากับความตาย

และนี่ก็คือ สิ่งที่จะอธิบายความหมายของวัฒนธรรมการขอทานของชาวไทยใหม่ได้เป็นอย่างดี ว่าทำไมถึงต้องมาขอทาน ขอทานแล้วได้อะไร
มีความสำคัญอย่างไร สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต การขอทานของชาวไทยใหม่เป็นเพียงการ
สานต่อทางวัฒนธรรมและการสืบสานทางวัฒนธรรม ไม่ใช่การของทานที่สร้างปัญหาให้กับสังคมเหมือนที่เราพบเห็นโดยทั่วไป วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่
ดีงาม สวยงาม เป็นมรดกของคนแต่ละกลุ่ม แต่ละยุคสมัย และที่สำคัญวัฒนธรรมยังเป็นตัวที่บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ทางสังคม ผู้คนส่วนใหญ่อาจจะ
มองว่าการที่มานั่งขอทานเป็นเรื่องที่น่าอาย อาชีพขอทานเป็นอาชีพที่ไม่มีศักดิ์ศรี แต่สำหรับชาวไทยใหม่แล้ว การขอทานสามารถที่จะบอกถึงสิ่งที่
แฝงมากับการขอทานนั่นคือ การสืบทอดทางวัฒนธรรมที่ยาวนานและการสานต่อทางวัฒนธรรม ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติและคุณค่าทางวัฒนธรรม
และสามารถบอกเล่า และถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาย ได้อย่างเต็มความภาคภูมิใจ

และนี่คืออีกหนึ่งวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตที่ถ่ายทอดความเป็นอารยะธรรมของภูเก็ต ได้อย่างชัดเจน สมกับคำกล่าวที่คุ้นหูว่า “ภูเก็ตเมืองแห่ง
วัฒนธรรม ไข่มุกแห่งท้องทะเลอันดามัน”

งานบุญเดือนสิบ(วันสารทไทย)..ที่ภูเก็ต


วันสารทไทย(เขียนว่าวันสารทจริงๆครับ)..วันสำคัญของชาวไทยโดยเฉพาะชาวไทยภาคใต้
หากวันคริสต์มาสเป็นวันสำคัญของชาวคริสต์ฉันใด..วันสารทไทยก็สำคัญกับชาวใต้ไม่แพ้กัน

..งานบุญวัน สารทเดือนสิบ หรือ บุญสลากภัตรนี้ เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศไปให้แด่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ที่อาจจะไปเกิดใน ภพภูมิที่ไม่ดี โดยเฉพาะเกิดเป็นเปรต ที่ต้องอาศัยผลบุญจากผู้อื่นในการเลี้ยงชีวิต และเปรตเหล่านั้นจะได้รับผลบุญ ก็ต่อเมื่อญาติๆนำข้าวปลาอาหารไป ทำบุญถวายพระภิกษุสามเณร โดยเฉพาะการถวายเป็นสังฆทานจะได้ผลานิสงส์มาก ด้วยคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนานี้ จึงเป็นเหตุให้ชาว
พุทธเรา(โดยเฉพาะชาวไทยภาคใต้)ถือเป็นประเพณีที่ต้องปฎิบัติ ในวันบุญเดือนสิบนี้ เชื่อกันว่าปู่ย่าตายายที่อยู่ในอบายภูมิจะได้รับการปลดปล่อยมาให้พบปะลูกหลานปีละครั้ง ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน10(เรียกว่าวันทำบุญเล็กหรือวันหมรับเล็ก)ถึงวันแรม 15 ค่ำเดือน10(เรียกว่าวันทำบุญใหญ่หรือวันหมรับใหญ่) ซึ่งวันนี้จะเป็นวันสุดท้ายของปีที่ปู่ย่าตายายจะได้พบปะและรอรับผลบุญจากลูกหลาน..ดังนั้นในการทำบุญเดือน10จึงมักจะทำกัน2วันคือ..วันทำบุญเล็ก(ปีนี้ตรงกับวันที่15 กันยายน 2551)และวันทำบุญใหญ่ซึ่งจะตรงกับวันพรุ่งนี้(จันทร์ที่ 29 กันยายน2551)

..การเล่าเรื่องไปเรื่อยๆ.. ฟังแล้วน่าเบื่อสำหรับคนภาคอื่นนะครับ..แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นความเชื่อของคนแต่ละท้องถิ่นซึ่งต่างก็มีประเพณีปฏิบัติปลีกย่อยที่แตกต่างกันไปนะครับ..โดยเฉพาะคนไทยภาคใต้แถบจังหวัดนครศรีธรรมราชจะถือว่าวันนี้สำคัญมาก..ละเสียไมได้เลย

ทีนี้..มาดูที่ภูเก็ตบ้างนะครับ
งานทำบุญเดือนสิบที่ภูเก็ต จะมีประเพณีปฏิบัติที่แตกต่างกับทางนครศรีธรรมราชอยู่บ้าง(ที่นี่ไม่มีประเพณีชิงเปรต)..แต่จะมีประเพณีให้ทานที่ต่างออกไป คือให้ทานกับชาวเล...ชาวเลก็คือชาวไทยใหม่เรานี้แหละ..เขามีประเพณีที่จะต้องมาขอทานในช่วงวันสารท..ในอดีตชาวเลจำนำพาชนะที่ทอด้วยเสื่อกระจูดหรือเรียกกันว่ากระสอบมาใส่ทานที่ชาวมาให้..พร้อมกับการขอทานชาวเลบางคนก็นำสินค้ามาขายเช่นสมุนไพรจากทะเล กัลปังหาและไม้ซางที่ใช้เป่าลูกดอก(ในเรื่องเงาะป่านะแหละ)มาขายให้กับเด็กๆที่ไปทำบุญกับผู้ปกครอง..แต่นั่นมันคืออดีตนะครับ ทุกวันนี้ชาวเลอาจจะขับรถกระบะไปขอทานและชาวพุทธก็อาจจะนั่งตุ๊กๆไปทำทาน. ก็เป็นได้..แต่ในปีนี้ ผมไปทำบุญที่วัดแขนน อำเภอถลาง..ที่วัดแขนนหรือวัดบ้านแหนนปีนี้ ไม่มีชาวเลมาขอทานให้เห็นเลย ..ผมจึงรู้สึกเหมือนจะขาดอะไรที่สำคัญไปอย่างหนึ่ง จริงๆ


..ในภาพจะเห็นพุทธศาสนิกชนนำอาหารไปถวายพระสงฆ์ในวันสารทปีนี้ที่วัดแขนน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต













รายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีการขอทานของชาวเลภูเก็ต..ดูได้ที่..ข้อเขียนของ จิรายุทธ ตั้งจิตต์ (ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับอุดมศึกษา)