วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551

ข้อเขียนเกี่ยวกับขอทานชาวเล..ของ จิรายุทธ ตั้งจิตต์


..เพื่อนๆครับ.. ผมไม่ได้ตั้งใจจะเอาเปรียบคุณ จิรายุทธ เจ้าของบทความเลย..แต่เพราะเวปไซต์ของบทความนี้อาจจะมีปัญหาไวรัส ผมเลยไม่อยากสร้างปัญหาให้ผู้อ่านของผม..ก็เลยลอกมาให้อ่านกันทั้งดุ้นจะปลอดภัยกว่า..ก็ต้องขออนุญาตคุณจิรายุทธในการเผยแพร่บทความต่อนะครับ

By จิรายุทธ ตั้งจิตต์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับอุดมศึกษา
ขอทานในยุคปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาของสังคมที่รอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยทั่วไปเราสามารถพบเห็นได้ตามแยกถนนต่างๆ
ใต้สะพานลอย เป็นกลุ่มคนที่ใส่เสื้อผ้าขาดๆ เนื้อตัวสกปรก ซึ่งในปัจจุบันมีมากจนกลายเป็นปัญหาทางสังคม และสิ่งของที่ขอทานได้คือ เงิน
แต่สำหรับจังหวัดภูเก็ตของเราแล้ว การขอทาน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการดำรงชีวิต เกิดขึ้นจากความศรัทธาในความเชื่อ และการเคารพต่อ
บรรพบุรุษ หล่อหลอมรวมกันถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นของชาวไทยใหม่(ชาวเล)ชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของภูเก็ต จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมที่มีความ
สำคัญต่อการดำรงชีวิต นั่นคือการขอทาน จะมีความแตกต่างจากขอทานทั่วไปหรือไม่ สิ่งของที่เขาอยากได้คืออะไร และการขอทานที่ว่านี้มีความ
สำคัญอย่างไรกับวัฒนธรรมของชาวภูเก็ต ขอทานกลายมาเป็นวัฒนธรรมได้อย่างไร วันนี้คุณจะได้รู้ถึงเรื่องราวทั้งหมด

ขอทาน หรือวัฒนธรรมการขอที่ว่านี้ อยู่คู่กับชาวภูเก็ต มานานหลายชั่วอายุคน โดยชาวไทยใหม่หรือที่ชาวภูเก็ตเรียกว่า ชาวเล เป็นกลุ่มคนพื้น
เมืองของภูเก็ตที่เริ่มวัฒนธรรมการขอทาน โดยเราสามารถพบเห็นการขอทานของชาวไทยใหม่ได้เพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น นั่นคือช่วง ประเพณีวัน
สาทเดือนสิบ ของชาวภูเก็ต เราจะเห็นชาวไทยใหม่หลายครอบครัว หอบลูกจูงหลาน เดินทางมาตามวัดต่างๆ เช่น วัดพระทอง วัดเทพกระษัตรี วัด
บ้านแขนน และวัดศรีสุนทร พร้อมกับอุปกรณ์ที่สำคัญในการขอทานนั่นคือ ถังพลาสติกสีเหลืองใบใหญ่ ที่ใช้ในการใส่ของจากคนที่เดินทางมาทำบุญ
ที่วัด ความแปลกตาบางอย่างที่เราสังเกตได้จากการขอทานของชาวไทยใหม่ เป็นตัวแบ่งแยกความต่างออกจากขอทานทั่วไปโดยสิ้นเชิง คือ ขอทาน
ทั่วไปจะมีการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าขาดๆ มองดูน่าสงสาร นั่งขอเงินตามริมถนนเพื่อซื้อข้าวกิน แต่การขอทานของชาวไทยใหม่แล้วเป็นการขอทาน
ขนมจากคนที่เดินทางมาทำบุญที่วัด อันได้แก่ ขนมเทียน ขนมนมสาว ขนมกระยาสาท ขนมต้ม และอีกหนึ่งความต่างคือ คนที่มานั่งขอทานทุกคน
เป็นคนที่มีฐานะ จะเดินทางมาขอทานด้วยรถยนต์ส่วนตัว บางครอบครัวก็มาด้วยรถเก๋ง บางครอบครัวก็มาด้วยรถกระบะป้ายแดง บางคนก็ใส่สร้อย
ทองเต็มตัว มองดูแล้วรวยกว่าคนที่ให้ทานอีก แล้วอะไรที่เป็นเหตุให้ชาวไทยใหม่เหล่านี้ต้องมานั่งขอทาน เพียงเพื่อต้องการแค่ขนม หรือมีอะไร
บางอย่างที่มีมากกว่านั้น

จากการที่ได้เข้ามาพูดคุยกับ คุณลุงทองปัน หาดชายทอง ผู้นำกลุ่มชาวไทยใหม่ บ้านราไวย์ ตำบลราไวย์หนึ่งในจำนวนคนที่เดินทางมาเพื่อขอ
ทาน ทำให้เราทราบว่า การขอทาน หรือวัฒนธรรมการขอทานของชาวไทยใหม่นั่น เป็นวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งทางความเชื่อ ที่มีมานานคู่กับ
การดำรงชีวิตของชาวไทยใหม่ที่ปฏิบัติกันมาหลายชั่วอายุคน การขอทานเกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่า ในช่วงประเพณีวันสาร์ทเดือนสิบของชาวภูเก็ต คือ
เป็นวันที่ทางโลกที่สามจะเปิดให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อมารับสิ่งของและผลบุญที่ทางลูกหลานทำให้ แต่ในสมัยก่อนชาว
ไทยใหม่มีฐานะยากจนมากดังนั่นจึงต้องเดินทางไปขอทานจากชาวบ้านเพื่อมาใช้ในการประกอบพิธีกรรม ของที่ได้มามักจะเป็นขนม เสื้อผ้า และ
ของใช้ต่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่ในปัจจุบันมีขนม เพียงอย่างเดียว และได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้คุณลุงทองปัน ยังบอกอีกว่า
ชาวไทยใหม่ยังเชื่อที่ว่า หากครอบครัวใดไม่เดินทางไปขอทานแล้ว ผีบรรพบุรุษจะลงโทษ และจะทำให้ครอบครัวนั่นเกิดเหตุร้าย และทำให้คนใด
คนหนึ่งในครอบครัวเสียชีวิตได้ ดังนั่นจึงเป็นเหตุให้ชาวไทยใหม่ต้องเดินทางไปขอทานถึงแม้ว่าทางครอบครัวจะมีฐานะดี และไม่ได้คิดที่จะเป็นขอ
ทานจริงๆ ก็ตาม เพราะถ้าไม่ทำนั่นหมายถึงการเผชิญหน้ากับความตาย

และนี่ก็คือ สิ่งที่จะอธิบายความหมายของวัฒนธรรมการขอทานของชาวไทยใหม่ได้เป็นอย่างดี ว่าทำไมถึงต้องมาขอทาน ขอทานแล้วได้อะไร
มีความสำคัญอย่างไร สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต การขอทานของชาวไทยใหม่เป็นเพียงการ
สานต่อทางวัฒนธรรมและการสืบสานทางวัฒนธรรม ไม่ใช่การของทานที่สร้างปัญหาให้กับสังคมเหมือนที่เราพบเห็นโดยทั่วไป วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่
ดีงาม สวยงาม เป็นมรดกของคนแต่ละกลุ่ม แต่ละยุคสมัย และที่สำคัญวัฒนธรรมยังเป็นตัวที่บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ทางสังคม ผู้คนส่วนใหญ่อาจจะ
มองว่าการที่มานั่งขอทานเป็นเรื่องที่น่าอาย อาชีพขอทานเป็นอาชีพที่ไม่มีศักดิ์ศรี แต่สำหรับชาวไทยใหม่แล้ว การขอทานสามารถที่จะบอกถึงสิ่งที่
แฝงมากับการขอทานนั่นคือ การสืบทอดทางวัฒนธรรมที่ยาวนานและการสานต่อทางวัฒนธรรม ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติและคุณค่าทางวัฒนธรรม
และสามารถบอกเล่า และถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาย ได้อย่างเต็มความภาคภูมิใจ

และนี่คืออีกหนึ่งวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตที่ถ่ายทอดความเป็นอารยะธรรมของภูเก็ต ได้อย่างชัดเจน สมกับคำกล่าวที่คุ้นหูว่า “ภูเก็ตเมืองแห่ง
วัฒนธรรม ไข่มุกแห่งท้องทะเลอันดามัน”

2 ความคิดเห็น:

คนไทยพุทธ กล่าวว่า...

นี่เดือน4 ก็มาเดินขอละ คือไร

ubulvallandingham กล่าวว่า...

Tinti jewelry necklace mens
Find the titanium belly button rings best prices for 2017 ford fusion energi titanium Tinti jewelry necklace mens at titanium canteen the best online ford fusion hybrid titanium prices at Tinti Shop. Discover our great selection titanium white dominus of jewelry, dresses, & more.