วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ขออนุญาต ออกความเห็น เรื่อง...ช่องปากพระ..

ปัจจุบันนี้ คำว่า ช่องปากพระ เป็นที่รู้กันว่าเป็นชื่อเรียกช่องแคบสุด ที่แยกคั่นเกาะภูเก็ตออกจากแผ่นดินใหญ่
มีความเชื่อกันว่า ครั้งหนึ่งเกาะภูเก็ตเป็นแหลมขนาดเล็กติดกับแผ่นดินใหญ่พังงาปัจจุบัน(กรีกโบราณเรียกว่าจังซีลอน) ที่แหลมจังซีลอนนี้เป็นที่ตั้งของเมืองท่าค้าค้ายที่สำคัญของอินเดียและชวา ต่อมาตรงคอคอดของแหลมจังซีลอนก็ถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนแผ่นดินแยกขาดจากกัน ฟังแล้วก็น่าจะมีเหตุผล..ผมสังเกตุดูชายฝั่งบริเวณช่องปากพระ(ฝั่งพังงา) บริเวณนี้จะถูกกระแสน้ำกัดเซาะเข้าไปในแผ่นดินทุกปี

อีกตำนานก็เล่าว่า สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตอนเกาะภูเก็ตถูกพม่าโจมตี ปากพระซึ่งเป็นป้อมค่ายหน้าด่านที่ตั้งอยู่บนฝั่งภูเก็ต คงไม่พ้นที่จะเป็นเป้าหมายแรกของกองทัพพม่า บางตำนานกล่าวว่าคุณหญิงจันกลับจากพังงามาเมืองถลางก็ผ่านทางช่องปากพระนี้แหละ (อาจจะข้ามฟาก ตรงบริเวณช่องทางออกสู่ทะเลอันดามันก็เป็นได้..เพราะเป็นส่วนแคบที่สุดและท่านคงข้ามเรือตอนกระแสน้ำน้ำนิ่ง)

: ขอยกข้อความบางส่วนจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี มานำเสนอเพิ่มเติมหน่อยครับ..
......เมื่อจอมร้างบ้านเคียนถึงแก่กรรมลง พญาถลางอาดบุตรชายและน้องชายท่านผู้หญิงจันได้ครองเมืองถลาง ครองได้ไม่นานก็ถูกผู้ร้ายยิงตาย หลังสมเด็จพระเจ้าตากสินปราบก๊กพระยานครได้ประมาณ 7 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรินทราชาพิมลอัยา ( ขัน ) เป็นเจ้าเมืองถลาง ท่านผู้หญิงจันเป็นแม่เมืองปกครองเมืองถลางด้วยความสงบสุขสืบมา ครั้นเมื่อพระยาสุรินทราชาพิมลอัยา ( ขัน ) เจ้าเมืองเสียชีวิต กองทหารจากเมืองหลวงที่ยึดค่ายปากพระได้เข้าเกาะตัวจับกุมท่านผู้หญิงจันเป็นเชลยศึกไปที่ค่ายปากพระ ในข้อกล่าวหาอ้างว่าสามีเป็นหนี้แผ่นดิน

ส่วนแผ่นดินพม่ามีพระเจ้าปดุง[2]ครองราชสมบัติใต้ฟ้าแผ่นดินอังวะ ลุปี พ.ศ. 2328 พม่าได้เตรียมกองทัพใหญ่ด้วยพระประสงค์ที่จะขยายอาณาเขต[3] ด้วยกองทัพที่ยิ่งใหญ่แกร่งกล้าในการรบสามารถปราบรามัญ ไทยใหญ่ มณีปุระยะไข่ รวบรวมไพร่พลได้ถึง 144,000 คน จัดเป็นทัพใหญ่หมายโจมตีสยามประเทศ เป็นที่รู้จักกันดีในนามสงคราม 9 ทัพ พม่ายกทัพเข้าบุกตีค่ายปากพระ[4] ซึ่งทหารของรัชกาลที่ 1 เป็นผู้บัญชาการค่าย พญาพิพิธโภไคยหนีไปเมืองพังงา ท่านผู้หญิงจันในขณะนั้นยังถือว่าเป็นเชลยศึก ได้หนีข้ามช่องปากพระ[5]มายังเข้าเมืองถลาง ผ่านบ้านไม้ขาว บ้านสาคู และบ้านเคียน[6]อันเป็นที่ตั้งเมืองถลาง.....

คำว่า..ช่องปากพระ ที่ท่านคุณหญิงจันข้ามฟากไปเกาะภูเก็ต..ตามที่บันทึกในตำนานนั้น เป็นบริเวณจุดไหนกันแน่...อาจหมายถึง บริเวณช่องทางออกสู่ทะเลอันดามัน(ชุดที่เรียกกันว่าช่องปากพระในปัจจุบัน) หรือบริเวณที่ตั้งของสะพานสารสิน หรือ บริเวณท่าแพเก่า(ท่านุ่นท่าฉัตรชัย)
พรุ่งนี้ค่อยว่ากันต่อครับ..(ขอเวลาวิเคราะห์แบบคุยกันเล่นๆ..อีกนิด)
( ดูแผนที่ภูเก็ตสมัยที่ยังเป็น จังซีลอน จาก ลิงค์ ที่ [4] )

ไม่มีความคิดเห็น: